Translate

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กลัวดำต้องกันแดด




  • http://www.benehealthyskin.com/%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b3-%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%94%e0%b8%94/

    ศัตรูอันดับหนึ่งสำหรับความขาวใส แดดอันเจิดจ้าของบ้านเรานี่เอง ไม่ต้องไปเที่ยวทะเลหรอก ทุกวันนี้ไปทำงานก็เกรียมแดดแย่แล้ว อาวุธยอดฮิตของผู้ที่ชื่นชอบผิวขาวๆ นั่นคือ กันแดด นั่นเอง
    กันแดด ทำงานอย่างไร ?
    ในแสดงแดด ตัวที่น่ากลัวคือ UV แน่นอนทุกคนคุ้นชื่อมันอยู่แล้ว ฉะนั้น เพื่อไม่ให้เจ้าแสง UV ตัวร้ายเข้าไปถึงชั้นผิว เจ้ากันแดดจึงทำหน้าที่ป้องกันและทำให้ UV แตกกระจายออกไม่ให้ทำร้ายผิวได้โดยตรง ซึ่งเจ้ากันแดดที่ดี มักจะมาในรูปแบบของครีมอย่างที่เราเห็นกันได้อยู่ทุกวันในท้องตลาด
    SPF คืออะไร
    ได้ยินกันตลอดสำหรับค่า SPF หรือ Sun Protection Factor คืออะไรกัน เจ้า SPF เป็นตัวระบุระดับการปกป้องผิวจากรังสี UVB หรือ ก็คือจำนวนเท่าของเวลาที่ผิวทนต่อรังสีอัลตราไวโอเลตนี้ได้หลังจากทาครีมกันแดดแล้ว ซึ่งโดยปกติผิวของเราจะรับมือกับแสงแดดโดยปราศจากครีมกันแดดได้ประมาณ 20-30 นาที ถ้าครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์นั้นระบุไว้ว่า SPF30 ก็จะหมายถึง เราสามารถอยู่กลางแดดได้ประมาณ 30×30 = 900 นาที หรือ 15 ชั่วโมง โดยที่ผิวไม่ไหม้แดง แต่กระนั้นการคำนวณอาจคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากครีมกันแดดที่ทาบนผิวอาจลบเลือนไปเมื่อเหงื่อออก
    PA คืออะไร
    ครีมกันแดดใหม่ๆ ที่วางขายกันในตลาดมักประกอบไปด้วย UVA Filter และค่าที่วัดการป้องกันรังสี UVA เรียกว่า PA  ย่อมาจากคำว่า Protection Grade of UVA ซึ่งค่า PA นั้นจะมี 3 ระดับคือ
    PA+       หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA
    PA++     หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูง
    PA+++   หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูงสุด
    SPF กับ PA+++ คืออะไร จะเห็นได้ว่าสัญลักษณ์เหล่านี้มีความสำคัญมากในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกันแดด เพราะทำให้เรารู้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีประสิทธิภาพในการป้องกันUVA และ UVB ได้มากเท่าใด ถ้า
    ผลิตภัณฑ์นั้นระบุไว้แค่ค่า SPFอย่างเดียว หรือค่า PA อย่างเดียว ก็หมายความว่า ผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถปกป้องผิวจากทั้ง 2 รังสีได้พร้อมๆ กัน นั่นก็คือ ป้องกันได้แค่รังสีชนิดเดียวเท่านั้น
    ในปัจจุบันมีรายงานการวิจัยพบว่า แสงแดดซึ่งมีรังสียูวีเป็นองค์ประกอบ เป็นสาเหตุสำคัญในการทำลายเซลล์ต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดการไหม้บนผิวหนัง การเกิดริ้วรอยก่อนวัย ตลอดจนการเกิดมะเร็งผิวหนัง การป้องกันที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันก็คือการใช้ครีมกันแดด (Sunscreens) มีประโยชน์ในการช่วยสะท้อนหรือดูดซับ (หรือทั้งสองอย่าง) เพื่อปกป้องผลกระทบจากรังสียูวีที่มีต่อผิวหนัง โดยสารสำคัญที่ใช้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามกลไกในการทำงาน ดังนี้
    1. สารกันแดดแบบกายภาพ (Physical Blockers) สารกันแดดกลุ่มนี้ทำหน้าที่สะท้อนหรือหักเหรังสียูวีออกไปจากผิว ที่นิยมใช้มีอยู่สองตัวคือ Titanium dioxide (TiO2) และ Zinc Oxide (ZnO)
    2. สารกันแดดแบบเคมี (Chemical Absorbers) ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีประเภทอินทรีย์ ทำหน้าที่ดูดซับรังสียูวีให้มีความเข้มน้อยลงเมื่อผ่านไปสู่ผิวหนัง สารกลุ่มนี้มีอยู่หลายตัว แต่ที่พบบ่อยจะเป็น 2-Ethylhexylmethoxycinnamate (Parsol MCX) Benzophenone-3 (Oxybenzone) และ Butylmethoxydibenzoylmethane (Avobenzone)
    3. Hybrid (Organic Particulates) สารกลุ่มนี้ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นสารกันแดดที่ทำหน้าที่ทั้งสะท้อนและดูดซับรังสียูวีได้ทั้งสองอย่างในตัวเอง ซึ่งปัจจุบัน มีสารตัวเดียวในกลุ่มนี้คือ Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol หรือ Tinosorb® M